วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2560

สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)

 สิงคโปร์ (Singapore)

                สิงคโปร์ (Singapore) ประเทศเล็กกกกๆที่น่าสนใจ เพื่อนบ้านฝาแฝดของเกาะภูเก็ต ที่มีขนาดพื้นที่ใกล้เคียงกัน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 697 ตารางกิโลเมตร โดยจะเป็นเกาะใหญ่หนึ่งเกาะ (เกาะสิงคโปร์) และเกาะเล็กๆ อีกมากกว่า 60 เกาะ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู ทางทิศเหนือติดกับช่องแคบยะโฮร์ ทิศใต้ติดกับช่องแคบสิงคโปร์ ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้ และทิศตะวันตกติดกับช่องแคบมะละกา ส่วนอากาศก็มีความใกล้เคียงกันมากเพราะเป็นอากาศร้อนฝนตกชุก แบบเขตร้อนชื้น
 สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีพื้นที่จำกัดและมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอยู่น้อย สินค้าส่งออกที่สำคัญจึงเป็นพวกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า และส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญก็จะเป็นพวก พลังงาน อาหาร และวัตถุดิบในงานอุตสาหกรรม เช่น ยางพารา
    เดิมสิงคโปร์เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า เทมาเส็ก (Temasek) หรือ ทูมาสิก (Tumasik) มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง ในศตวรรษที่ 3 ของประวัติศาสตร์จีน มีการกล่าวถึงสิงคโปร์เป็นครั้งแรก ในชื่อของ โปหลัวชาง (Pu-Luo-Chung) ที่หมายถึงปลายสุดของคาบสมุทร
     ในศตวรรษที่ 13 เจ้าชายแสง นิลา อุตามา (Sang Nila Utama) แห่งปาเลมบัง (Palembang) (นครพระราชอาณาจักรศรีวิชัยประเทศอินโดนีเซีย) เดินทางออกมาแสวงหาสถานที่สำหรับสร้างเมืองใหม่ และได้สร้างเมืองขึ้นที่บริเวณเกาะเทมาเส็กและเปลี่ยนชื่อเป็น สิงหปุระ (Singapura) หรือ “เมืองสิงโต”  ซึ่งมาจากคำในภาษาสันสกฤต “สิงหะ (simha)” (สิงโต) กับคำว่า “ปุระ (pura)” (เมือง)
           พ.ศ.2054 สิงคโปร์ตกเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส
           พ.ศ.2434 เซอร์ สแตมฟอร์ด ราฟเฟิลส์ (Sir Stamford Raffles) ตัวแทนของบริษัทบริติชอินเดียตะวันออก (The British East India Company) เดินทางมาตกลงการค้ากับสุลต่านผู้ปกครองสิงคโปร์ โดยมีการลงนามทำข้อตกลงเพื่อให้สิทธิ์แก่อังกฤษในการก่อตั้งสถานีการค้าที่สิงคโปร์และจัดตั้งเป็นท่าเรือปลอดภาษี สำหรับประเทศแถบเอเชียรวมถึงสหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง และต่อมาก็ยึดครองสิงคโปร์ไว้ได้
สิงคโปร์ยุคใหม่ได้รับการก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 19 อันเนื่องมาจากการเมือง การค้า และบุรุษที่รู้จักกันในนาม เซอร์ สแตมฟอร์ด ราฟเฟิลส์ (Sir Stamford Raffles)
ในช่วงเวลาดังกล่าว จักรวรรดิอังกฤษกำลังมองหาท่าจอดเรือสินค้าในภูมิภาคนี้เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับกองเรือสินค้าของตน และเพื่อไม่ให้ฝ่ายกองเรือของดัตช์ช่วงชิงความได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้าจากฝ่ายอังกฤษ สิงคโปร์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่กำลังรุ่งเรืองในแถบช่องแคบมะละกาอยู่ก่อนแล้ว จึงกลายเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
ราฟเฟิลส์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นรองผู้ว่าการเมืองเบงคูเลน (ปัจจุบันนี้คือ เบงกูลู) ในเกาะสุมาตรา ได้เดินทางมาขึ้นฝั่งที่สิงคโปร์ในวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1819 หลังจากที่ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพอันมหาศาลของเกาะที่เต็มไปด้วยที่ลุ่มน้ำและหนองบึงแห่งนี้ จึงได้เข้ามาช่วยเจรจาทำสนธิสัญญากับบรรดาผู้ปกครองท้องถิ่น และก่อตั้งสิงคโปร์เป็นสถานีการค้าขึ้นมา เมืองแห่งนี้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นศูนย์กลางการค้าโดยเน้นเรื่องการให้บริการคลังสินค้า ทำให้ผู้คนอพยพหลั่งไหลเข้ามาทำงานทั้งจากประเทศจีน อินเดีย หมู่เกาะมาเลย์ และดินแดนที่ไกลออกไป
ในปี ค.ศ. 1822 ราฟเฟิลส์ได้ประกาศใช้แผนการจัดการผังเมืองของราฟเฟิลส์ (Raffles Town Plan) ซึ่งเรียกกันอีกชื่อว่า แผนการแจ็คสัน (Jackson Plan) เพื่อเข้ามาจัดการปัญหาความไร้ระเบียบในดินแดนอาณานิคมแห่งนี้ บริเวณย่านที่พักอาศัยได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนตามเชื้อชาติ เมืองยุโรปมีผู้พำนักเป็นพ่อค้าชาวยุโรป ชาวยูเรเซีย และชาวเอเชียผู้มั่งคั่ง ในขณะที่ชุมชนชาวจีนนั้นตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นไชน่าทาวน์ในปัจจุบันและด้านตะวันออกเฉียงใต้ของแม่น้ำสิงคโปร์ ชาวอินเดียพักอาศัยอยู่ในย่านชูเลีย กัมปง (Chulia Kampong) ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของย่านไชน่าทาวน์ และย่านกัมโปงกลาม ก็จะมีชาวมุสลิม ชาวมาเลย์ และชาวอาหรับซึ่งได้อพยพเข้ามาตั้งรกรากในสิงคโปร์ สิงคโปร์ยังคงเดินหน้าพัฒนาอย่างต่อเนื่องในฐานะสถานีการค้า โดยมีการตั้งธนาคารพาณิชย์ สมาคมนักธุรกิจ และสภาหอการค้าที่สำคัญ ๆ หลายแห่ง ในปี ค.ศ. 1924 มีการเปิดสะพานซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมทางตอนหนือของสิงคโปร์กับยะโฮร์ บาห์รูของมาเลเซีย
           ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  สิงคโปร์ถูกโจมตีโดยกองทัพญี่ปุ่นในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ผู้รุกรานบุกเข้ามาทางทิศเหนือ โดยทำให้ผู้บัญชาการกองกำลังของอังกฤษหลงกลเนื่องจากคาดว่าญี่ปุ่นจะยกพลขึ้นบกจากทางทิศใต้ ถึงแม้ว่าจะมีกองกำลังมากกว่า แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ยอมแพ้ต่อกองกำลังญี่ปุ่นในวันตรุษจีน ซึ่งตรงกับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 นับเป็นการยอมแพ้ของกองกำลังที่นำโดยอังกฤษครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เกาะแห่งนี้ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยได้รับสมญานามว่า “ป้อมปราการที่ไม่อาจตีฝ่าเข้าไปได้” ได้รับการเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็น โชนันโตะ (Syonan-to) (หรือ “แสงแห่งเกาะใต้” ในภาษาญี่ปุ่น)เมื่อกองทัพญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามในปี ค.ศ. 1945 เกาะสิงคโปร์จึงถูกส่งมอบให้แก่คณะผู้บริหารกองทัพอังกฤษ (British Military Administration) ซึ่งอยู่ในอำนาจมาจนกระทั่งมีการยุบนิคมช่องแคบ (Straits Settlement) ซึ่งประกอบด้วย เกาะปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1946 สิงคโปร์ได้กลายเป็นดินแดนอาณานิคมอังกฤษ
ในปี ค.ศ. 1959 กระแสชาตินิยมที่ทวีขึ้นทุกขณะได้นำไปสู่การปกครองตนเอง และมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศ พรรคกิจประชาชน (People’s Action Party - PAP) ชนะการเลือกตั้งครองเสียงข้างมากในสภาจำนวน 43 ที่นั่ง และนายลี กวน ยู ก็ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์
           พ.ศ.2506 สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากอังกฤษและเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมลายา หรือมาเลเซียในปี (ค.ศ. 1963 )ได้มีการก่อตั้งประเทศมาเลเซีย ซึ่งประกอบขึ้นด้วยสหพันธรัฐมาลายา สิงคโปร์ ซาราวัก และบอร์เนียวเหนือ (ปัจจุบันนี้คือซาบาห์) การเดินเกมการเมืองในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าการควบรวมสิงคโปร์เข้าไปในครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จ 
         พ.ศ.2508 สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซีย และประกาศตัวเป็นเอกราช ตั้งแต่นั้นมาสิงคโปร์ก็พยายามพัฒนาและปรับปรุงประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า และประชากรมีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่สูงสุด
ทุกวันนี้ สิ่งของและสถานที่ต่าง ๆ ที่บอกเล่าเรื่องราวในอดีตของสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย เรื่องราวในยุคสมัยอาณานิคม และยุคสงคราม ได้รับการอนุรักษ์เอาไว้เป็นอย่างดีทั้งในตัวเมืองและบริเวณรอบ ๆ สามารถเยี่ยมชมอนุสาวรีย์ พิพิธภัณฑ์ และอนุสรณ์สถานต่าง ๆ หรือเดินทางย้อนเวลากลับไป โดยการเดินไปตามเส้นทางเดินเที่ยวสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น