คนราไวย์มั่นคงในชีวิต
เศรษฐกิจดีบนวิถีวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมสมบูรณ์
ภายใต้การจัดการตนเองของคนในตำบล
ตำบลราไวย์เป็นตำบลหนึ่งที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและมีความสำคัญของจังหวัดภูเก็ต
เพราะเมื่อเราคิดถึงจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยที่สุด
คนส่วนใหญ่จะคิดถึงจุดชมวิวแหลมพรมเทพซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง
จังหวัดภูเก็ต สถานที่ที่คนหลายคนทั่วโลกใฝ่ฝันจะต้องมายลแสงสุดท้ายของพระอาทิตย์ยามอัสดงที่สวยงามติดอันดับโลกแห่งนี้สักครั้งในชีวิต
นอกจากนี้ตำบลราไวย์ยังมีชายหาดที่สวยงามคือหาดในหาน อ่าวยะห์นุ้ย อ่าวเสน และหาดทรายขาวทอดยาวแหล่งอาหารทะเลสดๆชื่อเสียงเลื่องลือในชื่อชายหาดราไวย์
ที่ใช้เป็นท่าเทียบเรือขนาดเล็กสำหรับเดินทางไปเกาะต่าง ๆ ในตำบล เช่น เกาะเฮ
เกาะโหลน เกาะราชา
ซึ่งมีจุดดำน้ำที่สวยงามขึ้นชื่อว่าเป็นสวรรค์ของนักดำน้ำเลยที่เดียว
ท่ามกลางความเจริญและการเข้ามาของระบบทุนขนาดใหญ่ที่เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมายจากชายหาดซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวภูเก็ตและนักท่องเที่ยวในอดีตสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอุตสาหกรรม นอกจากทัศนียภาพที่สวยงามแล้วตำบลราไวย์ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์
อันมีประวัติอันยาวนาน
จึงเกิดการรวมกลุ่มทำกิจกรรมและสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามสืบต่อกันมา และคนในตำบลยังมีระบบการเงินของชุมชนที่เข้มแข็งมีกองทุนหมู่บ้านและกองทุนสวัสดิการที่โปร่งใส
ตรวจสอบได้และสามารถช่วยเหลือคนในชุมชนให้มีสวัสดิการและเงินทุนหมุนเวียนแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน
และที่สำคัญ
มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจนเกิดกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนซึ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยคนในชุมชนมีการจัดการตนเองเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน
ตราบที่ดวงอาทิตย์ยังขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก แหลมพรหมเทพและตำบลราไวย์ก็ยังคงงดงามรอการมาเยือนของผู้คนเสมอ
ประวัติหมู่บ้านชุมชน
ตำบลราไวย์มีหมู่บ้าน ทั้งหมด 7
หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่บ้านต่อไปนี้
หมู่ที่ 1 บ้านในหาน
หมู่ที่ 5 บ้านบางคณฑี
หมู่ที่ 2 บ้านราไวย์
หมู่ที่ 6 บ้านแหลมพรหมเทพ
หมู่ที่ 3 บ้านเกาะโหลน
หมู่ที่ 7 บ้านใสยวน
หมู่ที่ 4 บ้านบางคณฑี
หมู่ที่ 1 บ้านในหาน
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
ประวัติของหมู่บ้านมาจากสถานที่ตั้งของชุมชนเป็นป่าไส
และเป็นที่ทำรังของผึ้งยวนจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านใสยวน” ประมาณปี
พ.ศ. 2534 ได้แบ่งแยกหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลราไวย์ เป็นหมู่ที่ 7 ชื่อบ้านใสยวน
ชุมชนบ้านใสยวน หมู่ที่ 1 ตำบลราไวย์ หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า บ้านในหาน ทั้งนี้พื้นที่ที่แยกมาเป็นหมู่ที่
1 ตำบลราไวย์ นั้น อยู่ติดกับทะเล หาดในหาน ซึ่งเป็นหาดที่สวยงามและสงบเงียบ ทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อนที่หาดแห่งนี้ บุคคลภายนอกหมู่บ้านก็นิยมเรียกชื่อ “บ้านในหาน”
ของดีบ้านในหาน คือ หาดในหาน หนองน้ำในหาน วัดในหาน อ่าวเสน
หมู่ที่ 2 บ้านราไวย์
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
นายจำเริญ มุขดี อดีตผู้ใหญ่บ้านหาดราไวย์ เล่าว่า
นายล้อม วงศ์จันทร์ ชาวบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ณ หาดราไวย์ เมื่อประมาณ
ปี พ.ศ. 2430 ได้แต่งงานสร้างบ้านเรือนเป็นหลักฐานมั่นคง ด้วยความขยันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
จึงเป็นที่ยอมรับของเพื่อนบ้านในละแวกหมู่บ้าน จึงได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าเมืองในสมัยนั้น
ให้เป็นนายพัน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกำนัน โดยเรียกกันติดปากว่า กำนันล้อม ถือได้ว่าเป็นกำนันคนแรกของตำบลราไวย์ ต่อมาญาติพี่น้องก็อพยพมาอยู่ด้วย ชื่อ นายเอี่ยม ประจันทบุตร ซึ่งเป็นหมอแผนโบราณ หลวงอนุภาษภูเก็ตการ ซึ่งมาจากเมืองจีน มีชาวเลพวกพลัดหรือพวกสิงห์จากเกาะบริเวณใกล้เคียงหาดราไวย์ มาขออยู่อาศัยด้วย กำนันล้อมได้แบ่งที่ดินทำกินให้ตามส่วน ถือได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่ได้เข้ามาตั้งรกรากกลุ่มแรกในหมู่บ้านหาดราไวย์
ของดีบ้านราไวย์คือ ชายหาดราไวย์ แหลมกา วัดราไวย์ วัฒนธรรมชาวเล(ชาวไทยใหม่) อาหารทะเลสดๆ สะพานเทียบเรือ
หมู่ที่ 3
บ้านเกาะโหลน
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
ในอดีตเมื่อ 100 กว่าปีก่อน ได้มีชาวบ้านจาก จังหวัดสตูล ชื่อ โต๊ะนางู้ เดินทางมาตั้งบ้านเรือนอยู่บนเกาะโหลน ซึ่งมีสภาพเป็นป่า ต่อมาคนภายนอกเห็นว่ามีคนอยู่ก็พากันอพยพไปอยู่ด้วยหลายครัวเรือน บ้านเกาะโหลนจัดตั้งเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ 2480 มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อนายดล สองเมือง มีประชากร 33 ครัวเรือน และที่เรียกว่าบ้านเกาะโหลน ผู้นำชุมชนเล่าว่าพอถึงฤดูทำนาชาวบ้านใกล้เคียงกลัวว่าควายที่เลี้ยงไว้จะกินข้าวในนา ก็พาควายที่เลี้ยงไว้กรรเชียงเรือ จูงควายว่ายน้ำมาปล่อยไว้ที่เกาะโหลน พอหมดฤดูทำนาเจ้าของควายก็จะมาพาควายกลับแต่มีควายที่หลุดเชือก
เป็นควายเถื่อนอยู่ที่เกาะโหลน ควายเถื่อนพวกนี้ก็จะพากันกินหญ้า
กินต้นไม้บนเกาะทำให้โหลนเตียน จึงได้เรียกว่า “บ้านเกาะโหลน”
ของดี เกาะโหลน คือ วัฒนธรรมวิถีความเป็นอยู่แบบพื้นถิ่น แหล่งท่องเที่ยวบ้านเกาะโหลน กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ อาหารทะเลสดๆรสชาติอร่อย การใช้พลังงานแสงอาทิตย์
หมู่ที่ 4
บ้านบางคณฑี
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
เมื่อ 100 กว่าปีก่อน ได้มีชาวมุสลิมจากจังหวัดสตูล เดินทางอพยพมาอยู่ที่บ้านบางคณฑี ได้ตั้งถิ่นฐานมีครอบครัว มีญาติพี่น้องเดินทางมาอาศัยอยู่ด้วย และได้ขยายเผาพันธุ์มากขึ้น จนปัจจุบันมีสภาพเป็นชุมชน
ประวัติความเป็นมาของชื่อ บ้านบางคณฑี มาจากหลายแหล่ง สรุปได้ ดังนี้
บ้านบางคณฑี สภาพหมู่บ้าน มีบาง มีคลองเยอะ เวลามีเรือผ่านไป-มา ก็จะพักจอดเพื่อตักน้ำกิน-น้ำใช้ เมื่อก่อนในหมู่บ้านมีคนอยู่น้อย ร้านค้าในหมู่บ้านก็จะเปิดได้เพียง 1 แห่ง ถ้าเปิดหลายแห่งก็จะขายไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าร้านหนึ่งเปิด อีกร้านหนึ่งก็ต้องปิด
บางก็เล่าว่า บ้านบางคณฑี เมื่อก่อนคนในหมู่บ้าน มีนิสัยนักเลง
อันธพาล ถ้ามีใครพลัดถิ่น ไม่มีเครือญาติในหมู่บ้าน เดินทางเข้าไปในหมู่บ้านก็จะถูกพวกนักเลง
อันธพาล ก่อกวน เล่นงาน คนละทีจนไม่สามารถอยู่ได้ ต้องอพยพออกไปจากหมู่บ้าน
ของดีบ้านบางคณฑี ผ้าบาติก โฮมสเตย์ มุสลิมสบา แหล่งที่พักและที่อยู่อาศัย วัฒนธรรมผสมผสานไทยพุทธ มุสลิมที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติ
หมู่ที่ 5 บ้านบางคณฑี (ห้าแยก)
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
บ้านห้าแยก หมู่ที่ 5 ตำบลราไวย์ ได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านมานาน
ประมาณมากกว่า 100 ปี พื้นที่หมู่บ้านตั้งอยู่บริเวณวงเวียนห้าแยก จึงเรียกชื่อหมู่บ้านตามสถานที่ตั้ง คือ “บ้านห้าแยก”
ของดี ห้าแยก-บางคณฑี การเลี้ยงกุ้งก้าวกามแดงในกระบอกม การเลี้ยงไส้เดือน
หมู่ที่
6 บ้านแหลมพรหมเทพ
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
บ้านพรหมเทพ ได้แยกออกมาจาก หมู่ที่ 2 ตำบลราไวย์ เมื่อปี พ.ศ. 2516 มีผู้ใหญ่บ้านคนแรก นายสนิท หยดย้อย เดิมเป็นพื้นที่ทุ่งเลี้ยงสัตว์ ได้สงวนไว้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2479 หลังสงครามโคกครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2487 ข้าวยาก หมากแพง จึงได้ให้ชาวบ้านมาทำไร่ ปลูกข้าว
ปี พ.ศ. 2519 นายอำเภอชิต
ธรรมประวัตได้มีการพัฒนาตัดทางขึ้นแหลมพรหมเทพโดยใช้งบ อบจ. ชาวบ้านได้อพยพขึ้นไปอยู่บนแหลม ลักษณะพื้นที่ยื่นออกไปในทะเลเดิมเรียก “แหลมคอจ้าว” และมีหาดในพื้นที่ คือ หาดพรหมเทพนุ้ย, หาดพรหมเทพใหญ่ จึงใช้ชื่อหมู่บ้าน “บ้านแหลมพรหมเทพ”
ของดีบ้านแหลมพรมเทพ คือ จุดชมวิวพระอาทิตย์ตก แหลมพรมเทพ อ่าวยะห์นุ้ย พลังงานลม
หมู่ที่ 7 บ้านใสยวน
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
ชุมชนบ้านใสยวน เป็นชุมชนมุสลิม เดิมชุมชนบ้านใสยวนรวมอยู่ในหมู่ที่ 1
ตำบล ราไวย์ ได้แบ่งหมู่บ้านเป็นหมู่ที่ 7 ตำบลราไวย์
เมื่อปี พ.ศ. 2534
ประวัติชื่อของหมู่บ้าน มาจากสถานที่ตั้งของชุมชนเป็นป่าใส
และเป็นที่ทำรังของผึ้งยวน จึงตั้งชื่อชุมชนว่า “ บ้านใสยวน” ชาวบ้านในชุมชนอยู่กันแบบเครือญาติ
เดิมประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวนมะพร้าว และเลี้ยงสัตว์
ปัจจุบันชุมชนบ้านใสยวนได้ขยายเป็นหมู่บ้านจัดสรร ธุรกิจบ้านเช่า
ทำให้มีคนจากภายนอกเข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านมากขึ้น
สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
ประกอบกับคนรุ่นใหม่ได้เปลี่ยนอาชีพจาเกษตรกรรมมาเป็นขายแรงงาน รับจ้าง ค้าขาย
รับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจบ้านเช่า บ้านจัดสรร
ของดีบ้านใสยวน คือ แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้านการปลูกผัก, ฝายน้ำล้น,การทำเครื่องแกง, อสม., ผาหินดำ, มีการรีไซเคิลขยะ, มัสยิดไสยวน ตัวอย่างการอยู่ร่วมกันในรูปแบบความหลากหลายทางวัฒนธรรมนานาชาติศาสนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น